วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ประวัติมัสยิด

มัสยิดนูรุ้ลอิสลาม (สุเหร่าเขียว)                             مسجد نورالإســلام  


มัสยิดนูรุ้ลอิสลาม (สุเหร่าเขียว) เป็นมัสยิดที่เก่าแก่แห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี

ที่ตั้ง

มัสยิดนูรุ้ลอิสลาม(สุเหร่าเขียว) ตั้งอยู่ที่คลองลำรี เลขที่ 5 หมู่ที่ 8 ตำบลละหาร อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี 11110 พิกัดละติจูด 13.961255 ลองจิจูด 100.390671

ประวัติความเป็นมาของมัสยิดนูรุ้ลอิสลาม(สุเหร่าเขียว)

นูรุ้ลอิสลาม แปลว่า รัศมีแห่งความสันติ โดยบรรพบุรุษของชุมชนมัสยิดนูรุ้ลอิสลาม (สุเหร่าเขียว) อพยพมาจากภาคใต้ของประเทศไทย ที่ตั้งรกรากอยู่ที่ตำบลท่าอิฐภายหลังได้ขยับขยายมาเรื่อยจนถึงตำบลละหาร (ละหาร ในภาษามาลายู คือ ละแหร แปลว่า ที่ลุ่ม) และสัปบุรุษของชุมชนแห่งนี้ได้เริ่มจัดตั้งมัสยิดหลังแรก เพื่อใช้ในการประกอบพิธีทางศาสนา และเป็นศูนย์กลางประจำชุมชน โดยศาสนสถานแห่งนี้แบ่งออกเป็น ช่วง ดังนี้

สมัยที่ 1

ในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี (พ.ศ. 2411 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) ชุมชนแห่งนี้ได้มีชาวบ้านได้เข้าทำการถากถางป่าดง เพื่อจับจองพื้นที่อยู่อาศัยรวมถึง แชร์ซาและห์ แชร์บะห์เรน (นายเซ็น) แชร์มะ(อะห์หมัด) ซึ่งเป็นพี่น้องกัน


ช่วงที่ 1 สมัยอิหม่ามอะห์หมัด เซ็นเยาะ

ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 6 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ( เมื่อวันเสาร์ที่ 23ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช 2453 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2468 ) ราว พ.ศ. 2466 ได้มีประชาชนเข้ามาตั้งรกรากกันในท้องถิ่นนี้มากขึ้น และในช่วงนั้นได้รับการบริจาคที่ดินจากแชร์บะห์เรน(พี่ชายของท่านอิหม่าม) เป็นจำนวน ๖ ไร่ เพื่อใช้ในการสร้างมัสยิดและสุสาน แต่ในช่วงนั้นประชากรในชุมชนมีไม่มากนัก จึงสร้างสถานที่ละหมาด (บาลาเซาะห์) เพื่อใช้ในการประกอบศาสนกิจร่วมกัน ในตามเวลาปกติเท่านั้น ส่วนการละหมาดวันศุกร์ สัปบุรุษยังคงต้องเดินเท้าบ้าง พายเรือบ้าง เพื่อไปละหมาดวันศุกร์ที่มัสยิดท่าอิฐบ้าง มัสยิดปากคลองลำรีบ้าง(มัสยิดน๊ะฮ์ฎอตุ้ลอิสลาห์) ซึ่งเป็นสถานที่ ที่พี่ชายของอิหม่ามอะห์หมัดดำรงตำแหน่งอิหม่ามอยู่ที่นั้น(อิหม่ามซาและห์/โต๊ะเยาะห์ซาและห์) และการฝังศพโดยการนำศพลงเรือเพื่อนำไปฝังยังมัสยิดท่าอิฐ ส่วนการสร้างสถานที่ละหมาดนั้นสร้างเป็นอาคารไม้ ทรงปั้นหยา หลังคาสังกะสี ฝายืน

ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี ลำดับที่ 7 แห่งราชอาณาจักรสยาม ( 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2468 (ค.ศ. 1925) - 2 มีนาคม พ.ศ.2477 (ค.ศ. 1935) ) ในปี พ.ศ. 2476 ได้มีการสร้างมัสยิดขึ้นครั้งแรก เพื่อใช้ในการประกอบศาสนกิจแบบสมบูรณ์ และรองรับกับจำนวนสัปบุรุษที่มีมากขึ้น บนพื้นที่ 6 ไร่ ลักษณะของมัสยิดเป็นอาคารไม้ ทรงปั้นหยา หลังคาสังกะสี ฝายืนทาสีฟ้าอ่อน(ฝาติดกับบาลาเซาะห์หลังเดิม) ยกเสาสูงจากพื้นดิน และยกพื้นสูงจากอาคารบาลาเซาะห์ 1 เข่า กว้าง 6 วา โดยมีแชร์ทู ชาวมัสยิดปากคลองลำรี เป็นช่างใหญ่ในการก่อสร้าง ภายหลังจากการสร้างมัสยิดแล้วเสร็จ จึงยกอาคารบาลาเซาะห์หลังเดิมให้ใช้ในการศึกษา(ภายหลังเป็นโรงเรียนประชาบาลสุเหร่าเขียว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 )

ช่วงที่ 2 สมัยอิหม่ามอะห์หมัด เจริญสุข (นายกาเซ็ม)

 
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (20 กันยายน พ.ศ.2468 - 9 มิถุนายน พ.ศ.2489) รัชกาลที่ 8 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

พุทธศักราช 2488 ท่านอิหม่ามฮัจยีอะห์หมัด เจริญสุข (บุตรเขยท่านอิหม่ามอะห์หมัด เซ็นเยาะ) ต่อมาด้วยสัปบุรุษที่มาประกอบศาสนกิจมีมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มัสยิดคับแคบลง และในช่วงนั้นเองได้รับการวากัฟ (บริจาค) ที่ดินเพิ่มขึ้นอีก ไร่ จากโต๊ะตอซอ (อัลมัรฮุมะห์) จึงได้มีการบูรณะอีกครั้ง โดยสร้างมัสยิดหลังใหม่ขึ้น โดยสร้างเป็นอาคารไม้ทรงสเปน หลังคาสังกะสี

ต่อมาอาคารมัสยิดทรุดโทรมมากขึ้น จนอยู่ในสภาพที่ไม่มั่นคง คณะกรรมการมัสยิดจึงได้ประชุมร่วมกับสัปบุรุษเพื่อชี้แจงให้ทราบ ทั้งได้พิจารณาว่าการซ่อมแซมมัสยิดนั้นไม่เป็นผลด้วยเหตุผลสองประการ คือ

๑. อาคารมัสยิดเก่าแก่มาก
๒. ตัวอาคารมัสยิดคับแคบไม่เพียงพอกับจำนวนสัปบุรุษที่เพิ่มขึ้น

จึงมีมติให้ดำเนินการก่อสร้างใหม่ โดยรับเงินบริจาคจากสัปบุรุษกันคนละ ๘๐ บาท ในสมัยนั้น และได้เริ่มก่อสร้างโดยมีสัปบุรุษของมัสยิดเป็นผู้ขุดหลุมเพื่อวางเสาเข็ม ครอบครัวละ หลุม และใช้ไม้เนื้อแข็งในการวางเสาเข็ม ลึก วา หลุมละ ต้น ตัวอาคารมัสยิดเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ชั้น กว้าง วา (๑๒ เมตร) ยาว ๑๒ วา (๒๔ เมตร) ทั้งยังได้รับไม้พื้นมัสยิดชั้นล่างจากท่านด่วนมุสตาฟา มุขตารี (คนสนิทของท่านอิหม่ามอะห์หมัด) เป็นชาวบางอ้อ หน้าต่างมัสยิดเป็นการซื้อวากัฟ (ซื้อบริจาค) ให้กับมัสยิดครอบครัวละ ช่องๆ ละ ๖,๐๐๐ บาท ภายหลังจากที่ได้ก่อสร้างมัสยิดเสร็จแล้วยังคงเหลือไม้เนื้อแข็งอย่างดี ขนาดเท่าท่อนซุงอีกหลายสิบต้น คณะกรรมการมัสยิดจึงได้ประชุมแล้ววากัฟต่อไปยังมัสยิดนูรุ้ลฮิดายะห์ (สุเหร่าแสงประทีป) ซึ่งเป็นมัสยิดใกล้เคียง (ภายหลังทราบว่าได้แปรสภาพไม้เป็นพื้นของมัสยิด) ส่วนมะก่อมอิหม่ามและมิมบัร ได้รับการบริจาคจากธนาคารกรุงเทพ จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท ในสมัยนั้น

เมื่อมี พ.ร.บ. มัสยิดอิสลามขึ้น จึงได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.มัสยิดอิสลาม โดยมี
เลขทะเบียนที่ ๕ จดทะเบียนเมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๒ มีคณะกรรมการตามระเบียบ

คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด (พ.ศ.2492 ค.ศ.1949)

1. นายกาเซ็ม        เจริญสุข    อิหม่าม
2. นายอามูเซาะ    รักไทย      คอเต็บ
3. นายยะฮายอ      มะลา        บิหลั่น
4. นายหวัง            อาดำ         กรรมการ (โต๊ะเยาะห์หวัง)
5. นายสะมะแอ     เซ็นเยาะ   กรรมการ (ฮัจยีอิสมาแอล/เต๊ะแอ)
6. โต๊ะเยาะห์ซอ    รักไทย    กรรมการ
7. แชร์นูฮ์              สะอาด    กรรมการ
8. แชร์โซ๊ะห์         คนตรง    กรรมการ
9. ฮัจยีซิดดิ๊ก                         กรรมการ (โต๊ะเยาะห์ซิดิ)
10. เยาะห์ลี                           กรรมการ
11. แชร์มาน                         กรรมการ
12. ฮัจยีแชร์ลี                       กรรมการ
13. โต๊ะเยาะห์ฮะ                  กรรมการ

ช่วงที่ สมัยอิหม่ามฮัจยีอับดุซซุโก๊ร เจริญสุข (นายปรัชญา)

ต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช(5 ธันวาคม พ.ศ.2470 — ) เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ปัจจุบันแห่งประเทศไทย และพระมหากษัตริย์ลำดับที่เก้าแห่งราชวงศ์จักรี เสด็จสู่พระราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2489

นโยบายการบริหาร

นโยบายการบริหารงานของมัสยิดนูรุ้ลอิสลาม (สุเหร่าเขียว) มีเป้าหมายดังต่อไปนี้

๑. ส่งเสริมการศึกษาทั้งด้านศาสนา สามัญ และวิชาชีพ
๒. พัฒนาคุณธรรมทางศาสนาอิสลามแก่สัปบุรุษ
๓. พัฒนาคุณภาพชีวิตของสัปบุรุษให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และสามารถพึ่งพาตนเองได้
๔. ยกระดับมัสยิดให้เป็นศูนย์กลางของชุมชน และให้สัปบุรุษมีจิตใจผูกพันตลอดไป
๕. ประสานนโยบาย และประสานงานกับหน่วยงานของรัฐทุกระดับ เพื่อความเจริญของท้องถิ่น
๖. ขจัดอบายมุขและสิ่งที่ผิดต่อหลักการศาสนาอิสลาม
๗. มัสยิดแสวงหาทุนดำเนินการต่างๆ ด้วยการพึ่งพาตนเองพร้อมทั้งยินดีรับน้ำใจจากบุคคลทั่วไป

หลักการบริหารมัสยิดนูรุ้ลอิสลาม (สุเหร่าเขียว)

คณะกรรมการมัสยิดได้มาโดยการคัดเลือกบุคคลที่มีจิตใจเสียสละตามความเห็นชอบของสัปบุรุษ การคัดเลือกดำเนินการตามขั้นตอน คือ

- ให้สัปบุรุษเสนอชื่อบุคคลที่ตนเห็นชอบ
- คณะผู้อาวุโสประชุมคัดเลือกผู้เหมาะสมตามจำนวนที่กฎหมายกำหนด
- นำรายชื่อบุคคลที่ถูกคัดเลือกเสนอให้สัปบุรุษรับรอง
- จัดประชุมตามระเบียบการเลือกตั้งกรรมการมัสยิดที่ระบุในกฎหมาย

การแต่งตั้งตำแหน่งในคณะกรรมการมัสยิด ให้อิหม่ามเรียกประชุมคณะกรรมการ เพื่อเสนอแต่งตั้งบุคคลที่เหมาะสมกับตำแหน่ง โดยมติของคณะกรรมการ การออกระเบียบต่างๆ จะต้องผ่านมติของคณะกรรมการมัสยิดโดยอิหม่ามเป็นผู้บริหารให้เป็นไปตามระเบียบนั้น

การหาทุนของมัสยิด

การหาทุนดำเนินการด้านต่างๆ ของมัสยิดนูรุ้ลอิสลาม (สุเหร่าเขียว) ได้จาก

- การบริจาค
- ค่าเช่าบ้านพักอาศัยที่มีผู้วากัฟให้
- การจัดเก็บค่าบำรุงรักษาเครื่องใช้ต่าง ในการจัดงานต่างๆ
- การเปิดห้างหุ้นส่วนแสงธรรมฮัจย์และอุมเราะห์

เงินทุนที่ทางมัสยิดได้รับจากรายการดังกล่าวทำให้มัสยิดสามารถพึ่งพาตนเองได้โดยไม่ต้องอาศัยการเรี่ยไร

การส่งเสริมการศึกษา

ทางมัสยิดส่งเสริมการศึกษาทั้งทางศาสนา สามัญ และวิชาชีพ

ทางด้านศาสนา มัสยิดเป็นเจ้าของโรงเรียนนูรุ้ลอิสลาม (สุเหร่าเขียว) เปิดทำการสอนใน ระดับ คือ

๑. ภาคฟัรดูอีน ตามหลักสูตรของสมาคมคุรุสัมพันธ์ ในพระบรมราชนุประถัมป์ ให้แก่เยาวชน(ภายหลังได้แยกโรงเรียนออกจากสังกัด เพื่อขึ้นกับสมาคมนูรุ้ลอิสลามสัมพันธ์)

๒. ภาคฟัรดูกิฟายะห์ ในระดับอิบติดาอียะห์จนถึงซานาวียะห์ (ประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษา)ซึ่งโรงเรียนแห่งนี้เป็นที่เชื่อถือของมุสลิมทั่วไป นักเรียนที่จบการศึกษาในระดับซานาวีย์ของโรงเรียนสามารถเข้าศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศได้ อาทิเช่น ประเทศอียิปต์ ซาอุดิอารเบีย ลิเบีย มาเลเซีย อินโดนนีเซีย และอินเดีย

ทางด้านสามัญมัสยิดจัดสรรพื้นที่ส่วนหนึ่ง ให้กับเยาวชนมุสลิม เพื่อให้ได้รับการศึกษาเท่าทันโลก

- ระดับก่อนวัยเรียน โดยเปิดศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสุเหร่าเขียว (ศพด.) ให้อยู่ในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลละหาร
- ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ให้อยู่ในความรับผิดชอบของ
- ระดับการศึกษานอกโรงเรียน ได้เปิดให้มีการเรียนการสอนขึ้นให้กับเด็กต่างถิ่น ที่เข้ามาศึกษาศาสนา
- ระดับวิชาชีพ ได้จัดให้มีการอบรมให้กลุ่มแม่บ้านของชุมชน และการอบรมในการเลี้ยงสัตว์ขึ้นเป็นครั้งคราว โดยได้รับความร่วมมือจาก องค์การบริหารส่วนตตำบลละหาร องค์การบริหารส่วนตำบลบางบัวทอง

การส่งเสริมศาสนาและวัฒนธรรม

- มัสยิดได้จัด“โครงการอบรมคุณธรรม-จริยธรรม ตามหลักศาสนาอิสลามแก่เยาวชนมุสลิม” เป็นประจำทุกปี ช่วงโรงเรียนภาคสามัญปิดภาคเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียนเข้าค่ายเตรียมความพร้อมในการสอบภาคศาสนาโดยได้รับความร่วมมือจากองค์การบริหารส่วนตำบลละหาร

- มัสยิดได้จัด“โครงการอบรมคุณธรรม-จริยธรรม แก่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม” ในช่วงเดือนรอมาฎอนของทุกปี เพื่อให้ประชาชนรู้และปฏิบัติตามหลักการศาสนาอย่างถูกต้อง โดยได้รับความร่วมมือจากองค์การบริหารส่วนตำบลละหาร

- มัสยิดส่งเสริมการปฏิบัติศาสนกิจทั้งวันอีดิ้ลฟิตรี่(วันตรุษบริจาคทาน) วันอีดิ้ลอัฎฮา(วันตรุษพลีทาน)

การพัฒนาท้องถิ่น

- มัสยิดได้จัดตั้ง“หอกระจ่ายข่าวประจำหมู่บ้าน” เพื่อประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่าง ๆ ให้ประชาชนในหมู่บ้านทราบ เช่น ข่าวการจัดงานมงคลสมรสในหมู่บ้าน ข่าวการเสียชีวิต เป็นต้น

- มัสยิดได้จัดตั้ง“รายการวิทยุชุมชนแสงธรรมอิสลาม 97.50 Mhz เพื่อเผยแพร่สาระธรรมอิสลามให้กับผู้ที่อยู่ในชุมชนและผู้ที่มีความประสงค์ในการศึกษาศาสนา โดยให้อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการวิทยุแสงธรรมอิสลาม

- มัสยิดได้จัดตั้ง“สหกรณ์มัสยิดนูรุ้ลอิสลาม”เพื่อเป็นสถานประกอบการค้าย่อยให้แก่ประชาชนในชุมชน

- มัสยิดได้จัดตั้งสถานีตำรวจชุมชน โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐ อาทิ สถานีตำรวจอำเภอบางบัวทอง องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี เพื่อแก้ไขปัญหาทางสังคม เช่น การแก้ไขปัญหายาเสพติด การลักขโมย เป็นต้น

คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด ( 23 มิถุนายน พ.ศ.2524)

1. นายปรัชญา เจริญสุข อิหม่าม
2. นายอามูเซาะ รักไทย คอเต็บ
3. นายมานะ ตีเมาะ บิหลั่น
4. นายจำปา บินเซาะ กรรมการ
5. นายสมาน สุขวิมลพรรณ กรรมการ
6. นายหวัง อาดำ กรรมการ
7. นายมนูญ อินเดริส กรรมการ
8. นายรอมลี โต๊ะอาดำ กรรมการ
9. นายประยูร มิงสะเมาะ กรรมการ
10. นายเดช สุขไสใจ กรรมการ
11. นายสมหวัง เต๊ะดอเลาะ กรรมการ
12. นายหมัด ยินดี กรรมการ
13. นายหวังสะ สะอาด กรรมการ
14. นายรอฮีม สะมะ กรรมการ
15. นายมะรีฟีน ปูเต๊ะ กรรมการ

คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด ( พ.ศ.25.... – 25....)

1. นายปรัชญา เจริญสุข อิหม่าม

2. นายอามูเซาะ รักไทย คอเต็บ

3. นายประโยชน์ เจริญพันธ์ บิหลั่น (แต่งตั้งเมื่อวันที่5 กันยายน 2526)

4. นายสมาน สุขวิมลพรรณ กรรมการ

5. นายจำปา บินเซาะ กรรมการ

6. นายมนูญ อินเดริส กรรมการ

7. นายหมัด ยินดี กรรมการ

8. นายกอเซ็ม อาดำ กรรมการ

9. นายชาตรี เหล็กดี กรรมการ

10. นายชาญณรงค์ เต๊ะดอเลาะ กรรมการ

11. นายรอมลี โต๊ะอาดำ กรรมการ

12. นายสวัสดิ์ เซ็นเยาะ กรรมการ

13. นายสุรัตน์ เย็นประเสริฐ กรรมการ

14. นายมะรีฟีน ปูเต๊ะ กรรมการ

15. นายสวัสดิ์ เชื้อผู้ดี กรรมการ


คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด (10 พฤษภาคม พ.ศ.2547 , 21 รอบีอุลเอาวัล ฮ.ศ.1425)

ที่ กอ.นบ. 16/2547

1. นายปรัชญา เจริญสุข อิหม่าม

2. นายอามูเซาะ รักไทย คอเต็บ

3. นายประโยชน์ เจริญพันธ์ บิหลั่น

4. นายหลา มะลา กรรมการ

5. นายนริต เจริญสุข กรรมการ

6. นายชาตรี เหล็กดี กรรมการ

7. นายสมชัย เต๊ะดอเลาะ กรรมการ

8. นายปรีชา บินเซาะ กรรมการ

9. นายสมาน สุขวิมลพรรณ กรรมการ

10. นายกอเซ็ม อาดำ กรรมการ

11. นายจำปา บินเซาะ กรรมการ

12. นายวินัย เชื้อผู้ดี กรรมการ

13. นายสะอัส อินเดริส กรรมการ

14. นายประเสริฐ มะลา กรรมการ

15. นายอนุชา เซ็นเยาะ กรรมการ

(กรรมการชุดนี้สิ้นสุดวาระวันที่9 พฤษภาคม 2551)


คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด (31 กรกฎาคม พ.ศ.2552 , 8 ซะอ์บาน ฮ.ศ. 1430)

ที่ กอ.นบ. 6/2551

1. นายปรัชญา เจริญสุข อิหม่าม

2. นายอนุชา เซ็นเยาะ คอเต็บ

3. นายประโยชน์ เจริญพันธ์ บิหลั่น

4. นายนริต เจริญสุข กรรมการ

5. นายประสาท สามรวง กรรมการ

6. นายอับดุลเลาะ ดะมาลี กรรมการ

7. นายสมชัย เต๊ะดอเลาะ กรรมการ

8. นายวิโรจน์ เชื้อดี กรรมการ

9. นายประเสริฐ มะลา กรรมการ

10. นายชาตรี เหล็กดี กรรมการ

11. นายปรีชา บินเซาะ กรรมการ

12. นายปัญญา สุขวิมลพรรณ กรรมการ

13. นายกอเซ็ม อาดำ กรรมการ

14. นายสะอัส อินเดริส กรรมการ

15. นายวินัย เชื้อผู้ดี กรรมการ

(กรรมการชุดนี้สิ้นสุดวาระวันที่ 30 กรกฎาคม2556)


ทำเนียบอิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น

อิหม่าม

· อะห์หมัด เซ็นเยาะ(มรณะ พ.ศ. 2510)

· อะห์หมัด เจริญสุข(นายเซ็น) (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2488 – พ.ศ. 2492 , มรณะ 22 ก.ย. 2528)

· ฮัจยีอับดุซซุโก๊ร เตริญสุข (นายปรัชญา) (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2492 – ปัจจุบัน)

คอเต็บ

· ฮัจยีอามูเซาะห์ รักไทย

· ฮัจยีอารีฟ เซ็นเยาะ

บิหลั่น

· แชร์มะ นาทอง(บิดาแชร์แอ นาทอง)

· ฮัจยียะห์ยอ มะลา

· ฮัจยีมานะ ตีเมาะ(บิดานายสมาน สุขวิมลพรรณ กรรมการมัสยิด)

ฮัจยีอุมัร เจริญพันธ์ (นายประโยชน์ ซึ่งเป็นหลานชายอิหม่ามอะห์หมัด เจริญสุข) ดำรงตำแหน่งตั้งแต่งวันที่ 5 กันยายน 2526)


เกียรติคุณของมัสยิด

อิหม่ามอับดุซซุโก๊ร เจริญสุข ได้พัฒนาคุณภาพชีวิตและจิตใจให้สัปบุรุษ พร้อมกันนี้ได้พัฒนามัสยิดจนได้รับการยกย่อง และเป็นที่ยอมรับนับถือจากผู้คนมากมายทั้งในพื้นที่และต่างจังหวัด จนได้รับโล่และประกาศเกียรติคุณ ดังนี้

· โล่ประกาศเกียรติคุณ มัสยิดที่ให้ความช่วยเหลือตามโครงการรณรงค์ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาสิ่งแวดล้อมในเขต จังหวัดนนทบุรี เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษา 5 รอบ พ.ศ.2535 เมื่อ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2535

· ประกาศเกียรติคุณ ศูนย์เรียนรู้การแก้ไขปัญหายาเสพติด พื้นที่ภาคกลาง โดยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม เมื่อ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2548

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น